วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

 มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด    ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาข...อ่านเพิ่มเติม
มงคลสูตรคำฉันท์


     เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
“อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล  อดิเรกอุดมดี”

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี

จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง

เรื่องย่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ  ไว้ในมงคลสูตร  ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา  มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า  ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร  กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า  มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล  เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์  ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี  ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม  พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ  ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง

ทุข์ของชาวนาในบทกวี
แทนตนเองว่าเป็นชาวนา ที่เรียกร้องความเสมอภาค และแสดงถึงความยากลำบาก แสนสาหัส ในการทำนา ปลูกข้าว ให้ทุกคนกิน  ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อชาวนาในด้านปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา กา...อ่านเพิ่มเติม
หัวใจชายหนุ่ม

นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “ อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็...อ่านเพิ่มเติม
นิราศนรินทร์คำโคลง

     นายนรินทรธิเบศรเดิมชื่ออินได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร ( วังหน้า ) ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร จึงมักเรียกกันว่านายนริน...อ่านเพิ่มเติม


นิทานเวตาลเรื่องที่๑๐

๑)เวตาล เป็นชื่อตัวละครตัวเอกของเรื่องนิทาเวตาลมีหลายเรื่อง
๒)ผู้แปล พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนี แจ่... อ่านเพิ่มเติม
อิเหนาตอนศึกกระหมังกุหนิง

    เมื่อเมืองขึ้นยกทัพมาถึงเมืองกะหมังกุหนิงท้าวกะหมังกุหนิงออกมาต้อนรับพระอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง ทั้ง ๒ พระองค์ คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน  ก็ยกทัพมา  เมื่อทั้งสองรู้ถึงสาเหตุที่ท้าวกะหมังกุหนิงจะยกทั....อ่านเพิ่มเติม